“โคโซโว” : ชาติจากสงครามที่ใช้เวลาไม่กี่ปีสู่แถวหน้าของวงการฟุตบอล

bclub99.com : ชื่อของ “โคโซโว” เริ่มคุ้นหูแฟนฟุตบอลมากขึ้น จากผลงานโดดเด่น ทั้งในเกมอุ่นเครื่อง และยูโร 2020 รอบคัดเลือก แม้ว่านัดล่าสุดจะบุกไปพ่ายอังกฤษอย่างสนุก แต่ก็มีลุ้นเข้าไปเล่นในรอบสุดท้าย หลังรั้งอยู่ในอันดับ 3 ของตาราง ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน พวกเขาเป็นเพียงชาติเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสงครามในประเทศ ที่ทำให้มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก และหลายล้านคนต้องทิ้งถิ่นฐานในบ้านเกิด อพยพหนีภัยไปอยู่ในต่างประเทศ  ในขณะที่ด้านฟุตบอล พวกเขาแทบไม่มีตัวตน เนื่องจากไม่ได้รับการรับรองจากฟีฟ่า และยูฟ่า จึงทำได้เพียงลงเตะในเกมอุ่นเครื่องอย่างไม่เป็นทางการ และไม่มีแม้แต่โอกาสลงเล่นในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก และฟุตบอลยูโร แต่ช่วงเวลาไม่กี่ปี โคโซโว ก็สามารถพลิกสถานการณ์ จนมีลุ้นเข้าไปเล่นในทัวร์นาเมนต์ระดับเมเจอร์  พวกเขาทำได้อย่างไร ร่วมค้นหาคำตอบไปพร้อมกับ Main Stand  นายพลโยซิป โบรซ ติโต คือผู้นำที่มีบทบาทในการรวมยูโกสลาเวียให้เป็นปึกแผ่น เขาปกครองยูโกสลาเวียมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยใช้นโยบายกระจายอำนาจ ให้แต่ละรัฐมีอิสระในการปกครองตนเอง  แต่การอสัญกรรมของเขา ก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศ หลังเขาเสียชีวิตไม่นาน ขบวนการแบ่งแยกดินแดนก็เริ่มก่อตัวขึ้น เพราะแต่เดิมแล้วยูโกสลาเวีย เป็นประเทศที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ทำให้หลายรัฐพยายามแยกตัวเป็นอิสระเมื่อมีโอกาส

เมื่อถูกริดรอดสิทธิ รัฐทั้งหลายก็เริ่มประท้วง แต่มิโลเชวิช กลับใช้กำลังเข้าปราบปรามรุนแรงยิ่งขึ้น เขาพยายามสลายความเป็นตัวตนของรัฐต่างๆ เช่นเดียวกับ โคโซโว ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวแอลเบเนียซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม  การปราบปรามยังส่งผลไปถึงเกมลูกหนัง แม้ว่า โคโซโว จะอยู่ภายใต้การปกครองของยูโกสลาเวีย แต่พวกเขาก็มีลีกภายในของตัวเอง แต่มันไม่ง่ายนักในตอนนั้น เพราะมันไม่ใช่ลีกถูกกฎหมาย อีกทั้งยังถูกมองว่าเป็นเป็นเครื่องมือในการสร้างความกลมเกลียวในโคโซโว พวกจึงต้องเล่นอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ให้พ้นจากสายตาของเจ้าหน้าที่  และการขึ้นครองอำนาจของ สโลโบดาน มิโลเชวิช ผู้นำคนใหม่ก็ทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้น เมื่อเขาใช้นโยบายชาตินิยมอย่างสุดโต่ง โดยมอบอำนาจให้กับกลุ่มชาวเซิร์บ ในขณะเดียวกันก็ริดรอนสิทธิเสรีภาพของรัฐอื่นด้วยการยกเลิกเขตปกครองตัวเอง  เกมการแข่งขันจึงเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องแข่งกันในสนามขรุขระ หรือพื้นที่ห่างไกลความเจริญ แต่บางทีก็ไม่สามารถเล็ดรอดจากจากทางการไปได้ บ่อยครั้งที่พวกเขาถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาหยุดเกมกลางคัน หรือบางทีผู้เล่นก็ถูกจับกุมไปหรือโดนทำร้าย  “มันเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนต้องอยู่อย่างไม่มีความสุขแม้แต่ในบ้านตัวเอง บางคนหายตัวไปในตอนกลางคืน มันเป็นเรื่องที่น่ากลัว บางคนถูกทำร้าย หรือบางคนแม้แต่ศพก็หาไม่เจอ” เอ็ดมอนด์ รูโกนา อดีตกองหน้า เอฟซี พริสตินา ทีมจากเมืองหลวงของโคโซโว  แต่ถึงอย่างนั้น มันกลับถูกใช้เป็นแค่เครื่องมือทางการเมืองของ มิโลเชวิช ในการสร้างแนวคิดแบบเชื้อชาตินิยมเท่านั้น เมื่อในความเป็นจริง ดินแดนแห่งนี้กลับได้รับการปฎิบัติอย่างชายขอบจากรัฐบาล และกลายเป็นดินแดนที่ยากจนที่สุดภายใต้การปกครองของชาวเซิร์บในตอนนั้น 

อ่านเพิ่มเติม

การประท้วงทำให้รัฐบาลเซอร์เบียส่งกองกำลังเข้ามาปราบปรามอย่างหนัก และบานปลายกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบในปี 1998 ผู้บริสุทธิ์มากมายต้องเสียชีวิตจากน้ำมือของทหารเซอร์เบีย หลายคนต้องทิ้งถิ่นฐานเพื่อหนีตายออกนอกประเทศ  รวมไปถึงนักฟุตบอลโคโซโว ที่ทำให้ลีกภายใน ต้องพักเบรกลงชั่วคราว  ก่อนที่เหตุการณ์จะยากเกินควบคุม องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ ได้เข้ามาแทรกแซง การระดมทิ้งระเบิดต่อเนื่อง 78 วันของพวกเขาบีบให้ มิโลเชวิช ต้องถอนกำลังทหารออกจากโคโซโว และยอมให้กองกำลังสันติภาพเข้ามาควบคุม ก่อนที่มิโลเชวิช จะถูกจับในฐานะอาชญากรสงครามในเวลาต่อมา  หลังกองกำลังเซิร์บออกจากโคโซโวในปี 1999 ดินแดนแห่งนี้ ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหประชาชาติถึง 9 ปี รายงานของ ศูนย์กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศระบุว่า มีผู้คนถึง 850,000 คนที่เข้าร่วมการสู้รบ และ 13,500 คนต้องเสียชีวิตและสูญหายจากเหตุการณ์ในครั้งนี้  แม้ว่าสันติภาพจะกลับคืนมา แต่ฟุตบอลยังเป็นเรื่องยากที่จะเริ่มต้น บางสนามต้องบูรณะอย่างหนัก พื้นสนามเต็มไปด้วยหญ้าที่รกรุงรังเพราะถูกทิ้งไปในช่วงสงคราม และอัฒจันทร์หลายแห่งถูกใช้เป็นที่พักพิงสำหรับผู้ลี้ภัย  เขาเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ โดยไม่มีเงิน แต่มีชื่อเสียง เขาเป็นสุดยอดนักฟุตบอลที่มีต้นกำเนิดมาจากโคโซโว เป็นกองหน้าที่เล่นได้สองเท้า แม้จะไม่ได้ครบเครื่อง แต่ก็เต็มไปด้วยเทคนิค อีกทั้งยังเป็นคนที่มีเสน่ห์และมีความน่าเชื่อถือ 

อ่านเพิ่มเติม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *