เกาหลีใต้เปิดแคมป์ดีทอกซ์มือถือ

bbet99 – รัฐบาลเกาหลีใต้เร่งแก้ปัญหาโรคเยาวชนติดมือถือ เปิดแคมป์ดีทอกซ์มือถือทั่วประเทศ รักษาฟรี จ่ายแค่ค่าอาหาร หวังกอบกู้คุณภาพชีวิตให้กับเยาวชน ลด ละ เลิกใช้มือถือให้น้อยลง

ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งแคมป์เพื่อเยาวชนที่เสพติดอินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 2550 และต่อมาในปี 2558 แคมป์ถูกยกระดับให้เข้าไปเยียวยากลุ่มเยาวชนที่เสพติดโทรศัพท์มือถือด้วย โดยในปีนี้รัฐบาลภายใต้กระทรวงเพื่อความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัว ได้เปิดแคมป์ทั่วประเทศทั้งสิ้น 16 แคมป์ ช่วยเหลือเยาวชนในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายไปแล้วจำนวน 400 คน

ในฐานะที่เป็นประเทศผู้ผลิตมือถือรายใหญ่ เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และประชาชนมีความพร้อมในการเข้าถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ เด็กวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้มากกว่า 98% เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน ถือเป็นอันดับต้นๆของโลก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

เมื่อปีที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (MSIT) พบว่า ประมาณ 30% ของเยาวชนเกาหลีใต้อายุระหว่าง 10-19 ปี เป็น “โรคเสพติดมือถือ” ส่วนที่เหลืออีกไม่น้อย มีอาการบ่งชี้ว่าใกล้จะเสพติด MSIT จำกัดความบุคคลเหล่านี้ ว่าเข้าข่ายตกอยู่ในอันตรายและความสามารถในการควบคุมตัวเองจะลดลงเรื่อยๆ

ยูแชริน เด็ก หญิงวัย 16 ปี เป็น 1 ในเยาวชนติดมือถือที่ตัดสินใจเดินเข้าแคมป์ เธอเล่าให้ซีเอ็นเอ็นฟังว่า อาการติดมือถือทำให้ผลการเรียนตกต่ำ เพราะเธอเอาแต่เล่นมือถือทั้งคืนจนสว่าง เริ่มตั้งแต่เข้าเฟซบุ๊ก เล่นแอปถ่ายรูป คุยกับเพื่อนชีวิตที่อยู่แต่กับโทรศัพท์และโลกออนไลน์ ทำให้เธอรู้สึกว่าชีวิตในความเป็นจริงเริ่มเลือนราง แม้ที่โรงเรียนจะได้เล่นสนุก คุยกับเพื่อนที่เจอกันแต่ก็ไม่ได้รู้สึกเหมือนเป็นเรื่องจริง ขณะที่ชีวิตกับครอบครัวกลายเป็นความเหินห่างเพราะแทบไม่ได้คุยกัน มัวแต่เล่น โทรศัพท์

แม้ถูกผู้ปกครองจำกัดการใช้งานเหลือ 2 ชั่วโมง จาก 6-7 ชั่วโมงนอกเวลาเรียน แต่เธอก็ยังต้องหาทางแอบเล่นมือถืออยู่ดี จนในที่สุดคิดได้ จึงยอมเข้าแคมป์

ยูแชรินยอมทิ้งโทรศัพท์มือถือในรอบปีและเดินหน้าเข้าสู่โปรแกรมดีทอกซ์เป็นเวลา 12 วัน ค่าใช้จ่ายมีเพียงค่าอาหารราว 2,500 บาท นอกนั้นฟรีหมด เด็กหญิงและชายจะถูกแยกออกจากกัน กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเกม ทำงานศิลปะ งานฝีมือ เล่นกีฬา รวมทั้งพบปะนักจิตวิทยา ที่ปรึกษา เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับอาการเสพติดมือถือ และนั่งสมาธิ 30 นาทีก่อนเข้านอนช่วง 1-2 วันแรก เด็กแต่ ละคนจะอยู่ในภาวะทนทุกข์ทรมานจากการต้องหย่าขาดกับมือถือ แต่พอขึ้นวันที่ 3 ทุกอย่างจะดีขึ้น ทุกคนจะเริ่มสนุกสนานกับการพูดคุยกับเพื่อนๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน

ด้านลีวูริน วัย 16 ปี เยาวชนหญิงอีกคนเล่าให้ซีเอ็นเอ็นฟังว่า มือถือช่วยให้ความเครียดหายไป ทุกครั้งที่หยุดเล่น ความเครียดก็จะกลับมา

ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะชีวิตนักเรียนเกาหลีเป็นชีวิตที่มีแต่การแข่งขันและโปรแกรมการเรียนที่แน่น แทบไม่มีเวลาเหลือไปทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ นั่นเป็นเหตุให้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่เด็กอายุ 15 ปี เล่นกีฬานอกชั่วโมงเรียนน้อยที่สุดใน 35 สมาชิกกลุ่มประเทศ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) จากการสำรวจเมื่อปี 2558ดร.ลีแจวอน จิตแพทย์ผู้รักษาโรคติดมือถือ เปิดเผยว่า พฤติกรรมที่วนเวียนซ้ำๆ บ่งชี้ถึงอาการเสพติด เช่นในกรณีของลีวูริน พอหยิบมือถือแล้วหายเครียด พอวางก็กลับมาเครียดใหม่ แต่แทนที่จะหาทางอื่นเพื่อผ่อนคลายความเครียด เด็กวัยรุ่นกลับหันไปหามือถือ และคิดว่ามือถือทำให้มีความสุขในระยะสั้น โรคติดมือถืออาจทำให้คะแนนสอบลดลง แต่ระยะยาวมีผลกระทบมากกว่านั้น โดยมีโอกาสมากที่คนพวกนี้จะอยู่ตัวคนเดียว หลังสูญเสียครอบครัว การงาน และเพื่อน เพราะคนพวกนี้คิดว่ามือถือคือสะพานที่นำพวกเขาไปสู่สังคม จึงหันหลังให้โลกแห่งความเป็นจริง

ขณะที่คิมซองยอก ผู้บริหารจากกระทรวงเพื่อความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัว เปิดเผยกับซีเอ็นเอ็นว่า การรับมือแต่เนิ่นๆ จะทำให้ปัญหาในอนาคตทุเลาลง เด็กพวกนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น โตไปภายภาคหน้าจะอยู่ในสังคมลำบาก ซึ่งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะไม่ได้กระทบเฉพาะแก่ตัวเขาเท่านั้น แต่กระทบในฐานะที่เขาเป็นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศด้วย ไม่นับงบประมาณที่ต้องใช้ในการช่วยเหลือถ้าคนเหล่านี้เติบโตขึ้นไปเป็นภาระของประเทศ ถือเป็นความสูญเสียซ้ำซ้อน หลายเท่า

หลังชีวิตในแคมป์สิ้นสุด ยูแชรินเล่าว่า เธอใช้มือถือวันละ 2-3 ชั่วโมง จาก 6-7 ชั่วโมง เมื่อก่อนรู้ว่าต้องหยุด แต่ทำไม่ได้ แต่ตอนนี้ถ้ารู้ว่าต้องหยุด ก็จะสามารถหยุดได้ทันที

อย่างไรก็ตาม เธอเล่าว่าเพื่อนๆที่เข้าแคมป์ด้วยหลายคน กลับไปเสพติดมือถือเหมือนเดิม ซึ่งคงเป็นเพราะถูกพ่อแม่บังคับมา ไม่ได้สมัครใจเลิกแบบเธอ.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *