หาคำตอบจากประโยคอมตะ : กองเชียร์ยิ่งเสียงดังยิ่งทำให้นักกีฬาอยากเอาชนะจริงหรือ?

bclub99.com :ไปเชียร์กันเยอะๆนักกีฬาของเราจะได้มีแรงเอาชนะได้” ประโยคนี้เราได้ยินกันมานมนานแล้ว แต่ความจริงนั้นเสียงเชียร์หรือแรงเชียร์มันคือสิ่งที่เราคิดไปเองหรือไม่ว่าจะทำให้ทีมที่เราเชียร์ได้ชัยชนะง่ายขึ้น เพราะเมื่อเอาจริงๆแล้วนักกีฬาที่ลงสนามไปแข่งขันควรจะเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินเกมไม่ใช่หรือ?นี่คือคำถามที่เราเชื่อว่าหลายคนอาจจะยังตั้งข้อสงสัยว่า ทั้งๆ ที่ไม่ได้ลงไปแข่งขันด้วยในสนาม แต่การส่งกำลังใจจากข้างสนามหรือบนหน้าจอ จะเป็นแรงกระตุ้นให้นักกีฬางัดฟอร์มเก่งได้จริงหรือไม่? ถ้าได้…มันออกมาได้อย่างไร? นี่คือคำตอบจากงานวิจัยที่จะทำให้คุณเคลียร์ที่สุดสำหรับคำถามนี้ผู้เกี่ยวข้องยืนยันการจะยืนยันข้อเท็จจริงและทำให้ชัดเจนนั้นไม่อาจจะใช้คำว่า “ความรู้สึก” มาอ้าง ต้องมีเหตุผลหลายๆเหตุผลประกอบกันเป็นข้อเท็จจริง ดังนั้นจึงต้องใช้ศาสตร์ที่อธิบายถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ได้ง่ายที่สุดซึ่งนั่นก็คือ “จิตวิทยา”เคย์ พอร์เตอร์ นักจิตวิทยา ผู้แต่งหนังสือ The Mental Athlete ที่กล่าวว่า “หากพูดให้เห็นภาพ นักกีฬานั้นใช้พลังงานจากผู้ชมเป็นอาหารเพื่อให้พลังงานกระตุ้นตัวเอง” และคำตอบของ พอร์เตอร์ ถูกขยายผลต่อไปถึงนักกีฬาระดับเหรียญทองโอลิมปิกที่ผ่านสังเวียนการเเข่งมาอย่างโชกโชน ได้แก่  อดัม เนลสัน อดีตนักทุ่มน้ำหนักเหรียญทองโอลิมปิกปี 2004  ซึ่งตัวเขาเองยอมรับว่าเสียงเชียร์นี่แหละที่ทำให้เขารู้สึกเพิ่มขีดจำกัดความสามารถของตัวเองได้ด้วยความฮึกเหิม 

“ผมชอบที่จะให้แฟนๆ ส่งเสียงเชียร์ก่อนทำการแข่งขันนะ มันทำให้ผมฮึกเหิมดี” อดัม เนลสัน กล่าว   ไม่ใช่แค่กีฬาอย่างทุ่มน้ำหนักเท่านั้น กีฬาประเภททีมที่เเข่งขันในสนามใหญ่นั้นความสำคัญของเสียงเชียร์มีผลอย่างมากต่อผู้เล่นที่กำลังเเข่งขันอยู่ โดยเฉพาะฟุตบอล นั้นชัดเจนมากที่สุด ยิ่งเสียงดังยิ่งกระตุ้นนักเตะได้ดี และเสียงเชียร์ของแฟนๆยังสร้างความแตกต่างระหว่างการแข่งขันได้ดีจากเสียตะโกนจากโค้ชที่อยู่ข้างสนามเสียอีก “ในเชิงจิตวิทยา เมื่อคุณรู้เวลาคุณอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดแล้วมีเสียงเชียร์คุณดังลั่น มันจะเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้คุณทำผลงานให้ดีที่สุด มีแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ที่ผู้เล่นจะได้ยินการกระตุ้นของโค้ชระหว่างแข่ง เพราะว่าตอนแข่งจริง พวกเขาจะมีสมาธิกับเกมในสนามมากกว่า นั่นหมายความว่าแฟนบอลจะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นนักเตะมากกว่าโค้ชเสียอีก””จังหวะบอลตายเป็นเหมือนช่วงที่ แฟนบอล กับนักเตะจะได้มีส่วนร่วมกันในการเปลี่ยนทิศทางของเกม ซึ่งมันคือสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ นั่นคือการสนับสนุน เพื่อเป็นการเร้าอารมณ์ ให้มีความคึกที่จะลงไปลุยต่อในช่วงเวลาที่เหลือ”  ทอม เบตส์ นักจิตวิทยาด้านการกีฬาเคยทำวิจัยเรื่องนี้กล่าวกับ FourFourTwo 

อ่านเพิ่มเติม

เรื่องนี้มีคำตอบอีกเช่นกัน… การเชียร์ผ่านหน้าจอสามารถทำให้นักกีฬาที่แข่งขันอยู่มีพลังจะสู้ไม่แพ้กัน แม้นักกีฬาจะไม่ได้ยินเสียงของคุณ แต่พวกเขารับรู้ว่าไม่ได้มีแค่ผู้ชมในสนามเท่านั้นที่กำลังจับตาดูพวกเขาอยู่ และเรื่องนี้ต้องให้เครดิตโลกยุคใหม่ที่สามารถเชื่อมถึงกันได้หมด โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กสามารถบอกฐานแฟนคลับได้เป็นอย่างดี  เรื่องนี้ ดร. นาตาลี นิวตัน ให้คำตอบที่ค่อนข้างน่าทึ่ง… เพราะนักกีฬาเองก็ต้องการกำลังใจจากแฟนกีฬาทุกคน ไม่เว้นแม้แต่คนที่กำลังรับชมการถ่ายทอดสดก็ตาม “ต้องยอมรับว่า นักกีฬายุคนี้เติบโตมาในยุคของอิเล็กทรอนิกส์ พวกเขารู้อยู่ตลอดแหละว่ากล้องถ่ายทอดสดอยู่ที่ไหน รวมถึงเวลาที่จะมีการถ่ายทอดสดกลับไปยังบ้านเกิดด้วย ก็เหมือนๆ กับที่รู้ว่ามีแฟนๆ ในสนามคอยดูอยู่ และยิ่งหากรู้ว่า กล้องถ่ายภาพนักกีฬาคนนั้นบ่อยๆ พวกเขาก็จะรู้สึกดี พร้อมๆกับมีแรงกระเพื่อมถึงอนาคตที่สดใส การเห็นคนดูเต็มสนามถือเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่การได้รับรู้ว่า มีคนที่บ้าน จะครอบครัว, เพื่อนพ้อง หรือคนร่วมชาติติดตามชม มันคือสิ่งสำคัญยิ่งกว่า” 

อ่านเพิ่มเติม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *