bclub99.com : ไม่มีใครสงสัยในพลังการเตะของนักมวยสายเลือดไทย แต่ผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ เหตุใดกีฬาต่อสู้ที่ใช้หมัดและเท้าอย่าง “คิกบอกซิ่ง” กลับไม่ค่อยมีแชมป์โลกคนไทย?หากจะหากีฬาสักชนิดหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยมากที่สุด ผู้อ่านหลายคนคงนึกถึง “คิกบอกซิ่ง” (Kickboxing) ศิลปะการต่อสู้ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นเพราะถ้ามองแบบผิวเผิน จะเห็นได้ว่า คิกบอกซิ่ง สามารถใช้เท้าและหมัดได้เหมือนกับมวยไทย แตกต่างกันแค่ห้ามใช้เข่าและศอก หากเป็นเช่นนั้น ชาติที่มีนักสู้เชี่ยวชาญเรื่องการเตะและการต่อยเบอร์ต้นๆของโลก อย่างประเทศไทย ก็ดูไม่น่าจะมีปัญหาอะไร หากคิดจะเอาดีทางกีฬาชนิดนี้?แต่ทุกอย่างกลับตรงกันข้าม “ไทย” ไม่ใช่มหาอำนาจของกีฬาคิกบอกซิ่ง และแชมป์โลกส่วนมากของกีฬาชนิดนี้ก็ไม่ใช่นักมวยไทย
จากนั้นไม่นาน คิกบอกซิ่งถูกนำมาเผยแพร่ยังประเทศไทยโดยโนงูชิ จนเกิดการชกคิกบอกซิ่งครั้งแรกในโลก ระหว่างนักมวยไทยกับนักมวยญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1967 ที่เวทีมวยลุมพินีการชกในครั้งนั้นได้รับความสนใจจากแฟนมวยจำนวนมาก แต่ฝั่งไทยประเมินศิลปะการต่อสู้ใหม่จากญี่ปุ่นไว้ค่อนข้างต่ำ จึงเลือกส่งนักชก 3 คนที่เป็นเกรดรองลงชกผลการชก เห่าไฟ ลูกคลองตัน นักชกที่ใกล้ปลดระวาง เป็นฝ่ายแพ้ อาคิโอะ ฟูจิฮาระ ส่วน ตั้ง แซ่เล้ง ที่ผันตัวมาเป็นเทรนเนอร์ ก็แพ้ให้กับ ทาดาชิ นากามูระ มีเพียง ราวี เดชาชัย นักมวยดังที่ร้างสังเวียนไปร่วมปี เจอกับ เคนจิ คุโรซากิ แต่ไฟต์นี้ราวีกู้หน้าไล่ตะบันจนนักชกญี่ปุ่นพ่ายน็อก
มวยไทย (ในประเทศ) และคิกบอกซิ่ง จึงกลายเป็นกีฬาพี่น้องที่ดูเข้ากันได้และน่าจะไปด้วยกันได้ดี แต่กลับยืนบนเส้นขนานที่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ก้าวข้ามเส้นนั้นได้ เพียงเพราะอคติ และการไม่เปิดใจเรียนรู้กัน ซึ่งมันอาจจะดีกว่าหากเราเปิดใจเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อยกระดับมวยไทยให้ไปอีกขั้น “ผมรู้สึกว่าศิลปะการต่อสู้ทั้งมวยไทยและคิกบอกซิ่ง ต่างมีประโยชน์ส่งเสริมต่อกัน” เบนจามิน ซินบีมวยไทย กล่าว“หากครูฝึกมวยไทย เรียนรู้ทักษะการชก การเตะตัดแบบดัตช์ที่ทรงพลัง แม้แต่การจังหวะการหมุนตัวเตะ (แบบคิกบอกซิ่ง) ก็อาจช่วยให้นักมวยไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะคู่ชกคงคาดไม่ถึงว่านักมวยไทยจะเลือกใช้ลูกหมุนตัวเตะ”